แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Home Automation ระบบ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Home Automation ระบบ แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559

[Home Automation] ตัวอย่างการใช้งาน EX

ตัวอย่างการใช้งาน Smart Home


ตัวอย่างการใช้งาน Smart Home

บ้านหลังหนึ่งเป็นบ้านแฝดบริเวณชั้นล่างของบ้านได้ทำเป็นสำนักงานเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้า ซึ่งจะมีห้องจัดเก็บสินค้า ภายในห้องมีการใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซ็นต์ขนาด 36 วัตต์ จำนวน 6 หลอด ซึ่งห้องนี้มีการใช้งานจริงเฉลี่ย 4 ชั่วโมง/วัน แต่เปิดไฟทิ้งไว้ตลอดเวลา 9 ชั่วโมง (รวมช่วงเวลาพัก) ทางเจ้าของบ้านจึงนำระบบควบคุม PIR Light Sensor มาติดทั้งใช้งานทำให้สามารถประหยัดพลังงานลงได้ดังนี้ (สำนักงานทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน 22 วัน/เดือน)
การใช้พลังงานก่อนการดำเนินการปรับปรุง
คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ = (46 x 6 x 9 x 22)/1000 = 54.65 kWh./เดือน
คิดเป็นค่าใช้จ่าย = 54.65 x 3.00 = 163.95 บาท/เดือน
= 163.95 x 12 = 1,967 บาท/ปี
การใช้พลังงานหลังการดำเนินการปรับปรุงติดตั้งระบบควบคุม PIR Light Sensor
คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ = (46 x 6 x 5 x 22 )/1000 = 30.36 kWh./เดือน
คิดเป็นค่าใช้จ่าย = 30.36 x 3.00 = 91.00 บาท/เดือน
= 91.00 x 12 = 1,092 บาท/ปี
คิดเป็นค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สามารถประหยัดได้ = 875 บาท/ปี
การลงทุน
ติดตั้งระบบ PIR Light Sensor จำนวน 1 ชุดราคา 1,500 บาท
ระยะเวลาการคืนทุน = 2 ปี

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Home Automation] PIR Light Sensor

ระบบควบคุมการทำงานในบ้าน PIR Light Sensor

ระบบควบคุมการทำงานในบ้าน PIR Light Sensor

PIR Light Sensor บรรจุสองเทคโนโลยีการตรวจจับอันล้ำสมัยได้แก่ Motion Sensor และ Body Heat Sensor ทันทีที่มีคนก้าวมาในบริเวณติดตั้งโคมไฟ ไฟจะเปิดไฟขึ้นเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อก้าวออกไปจากพื้นที่ไฟก็จะดับลง ในระยะเวลาที่ตั้งไว้(ปรับตั้งได้ตั้งแต่ 10 วินาทีจนถึง 4 นาที) PIR Light Sensor เหมาะสำหรับบริเวณที่มักลืมปิดไฟ เช่นห้องครัว ห้องเก็บของ หองน้ำ โรงรถ ห้องประชุม หรือบริเวณที่ต้องการเปิดไฟเฉพาะตอนกลางคืนที่มีการเดินผ่าน เช่นโถงบันได โถงทางเดิน โดยไม่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดเวลาให้สิ้นเปลืองPIR Light Sensor มี Photo cell CDS (Cadmium Sulfide) ตรวจสอบอัตโนมัติหากมีแสงสว่างเพียงพอหลอดๆไฟจะไม่ติดเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถปรับตั้งค่าแสง(LUX Control Level)ได้ตามต้องการ ว่าจะให้โคมไฟทำงานในปริมาณแสงเท่าใด โดยเลือกปรับได้ตั้งแต่สว่างที่สุดจนถึงมืดที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Home Automation] การใช้งานระบบ Smart Home

การใช้งานระบบบ้านอัจฉริยะ

การใช้งานระบบบ้านอัจฉริยะ

สวิทช์ควบคุมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
o ส่วนที่ 1 สวิทช์สำหรับเปิด-ปิด และสวิทช์สำหรับหรี่ไฟ จำนวน 4 สวิทช์
o ส่วนที่ 2 สวิทช์สำหรับเลือกบรรยากาศ จำนวน 4 Scene
สวิทช์สำหรับเปิด-ปิด และปรับหรี่ (ส่วนที่ 1) จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
o กลุ่มที่ 1 ควบคุมโคมไฟฟ้าในหลืบฝ้าที่เป็น Bare Type
o กลุ่มที่ 2 ควบคุมไฟหัวเตียง Wall Type
o กลุ่มที่ 3 ควบคุมไฟฟ้าที่ฝ้าเพดานส่วนของ Downlight
o กลุ่มที่ 4 ควบคุมโคมไฟฟ้าส่องรูปภาพหรือโปสเตอร์ที่เป็น Track Light Halogen
สวิทช์เลือกบรรยากาศ (ส่วนที่ 2) จะมีให้เลือกอยู่ 4 Scene ซึ่งจะกำหนดไว้ ดังนี้
o Scene ที่ 1 จะเป็นบรรยากาศที่มีแสงสว่างเต็ม 100% ของโคมไฟฟ้าทุกโคม
o Scene ที่ 2 จะเป็นบรรยากาศสลัวๆ กล่าวคือ ไฟในหลืบจะสว่างที่ 20% แล้วโคมไฟฟ้า
Downlight จะสว่างที่ 50% และไฟหัวเตียง Wall Mounted จะสว่างที่ 30%
o Scene ที่ 3 จะเป็นบรรยากาศที่มีแสงสว่างน้อย กล่าวคือ เปิดไฟส่วนหัวเตียงที่ 30%
โดยที่ไฟส่วนอื่นๆ จะปิดหมด ยกเว้นไฟส่องรูปภาพจะสว่างที่ 100%
o Scene ที่ 4 จะเป็นบรรยากาศที่ไม่มีการใช้แสงสว่างเลย กล่าวคือ ปิดไฟทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Home Automation] ส่วนประกอบของอุปกรณ์

ส่วนประกอบอุปกรณ์บ้านอัจฉริยะ

ส่วนประกอบอุปกรณ์บ้านอัจฉริยะ

L5504D2A. 4 Channel Dimmer Unit เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมในการรับและส่งคำสั่งต่างๆ ของอุปกรณ์
• Relay Unit 1 Channel เป็นอุปกรณ์ที่รับคำสั่งจาก 4 Channel Dimmer Unit เพื่อไปสั่งงานให้ Electronic Ballast ทำงาน
• Key Input Unit และ Rocker Switch with Indicator Window เป็นอุปกรณ์ในการสั่งงานเปิด-ปิด และปรับความสว่างของหลอดไฟฟ้า โดยสามารถเลือกจำลองเหตุการณ์ได้ 3 เหตุการณ์
• Electronic Ballast เป็นอุปกรณ์ที่ปรับแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมกับหลอดไฟฟ้าที่ใช้งาน
• โคมไฟฟ้ารุ่น Bare Batten Type Lamp (Daylight) เป็นส่วนที่ติดตั้งไว้หลืบฝ้าเพดาน ใช้ในกรณีที่ต้องการแสงสว่างมากๆ
• โคมไฟฟ้า Recessed Downlight Lamp (Warm White) เป็นโคมไฟฟ้าที่ให้แสงในโทนที่ไม่ต้องการความสว่างมาก
• โคมไฟฟ้า Wall Mounted Lamp (Warm White) เป็นโคมไฟฟ้าที่ต้องการให้แสงเฉพาะจุดและไม่สว่างมาก
• โคม Track Light Halogen เป็นโคมไฟฟ้าที่ใช้เน้นจุดที่จะส่องสว่าง ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นการส่องข้อความของป้ายข้อมูล

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Home Automation] ข้อมูลด้านเทคนิคของเทคโนโลยี

บ้านอัจฉริยะเทคนิคของเทคโนโลยี

บ้านอัจฉริยะเทคนิคของเทคโนโลยี

ระบบคอมพิวเตอร์สามารถควบคุมสภาพอากาศภายในบ้านให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย โดยสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก และควบคุมให้ระบบต่างๆทำงานที่ประสิทธิภาพสูงสุด
o ระบบตรวจสอบการใช้ไฟฟ้า เพื่อตรวจติดตามปริมาณการใช้พลังงานและค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
o ระบบการวัดอุณหภูมิในจุดต่างๆทั้งภายนอกและภายในบ้าน เพื่อปรับอุณหภูมิภายในบ้านให้เหมาะสม
o ระบบการควบคุมการเปิด-ปิดประตู หน้าต่าง และพัดลมระบายอากาศ โดยใช้การเปรียบเทียบระดับเอนทาลปีภายในและภายนอก เพื่อควบคุมการนำอากาศจากภายนอกเข้ามาใช้
o ระบบควบคุมการจ่ายลมเย็นตามภาระความเย็นที่เกิดขึ้นในแต่ละบริเวณ
o ระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟแสงสว่างตามช่วงเวลา และการใช้งานในแต่ละพื้นที่
o ระบบควบคุมและสัญญาณเตือนอัตโนมัติ เช่น ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ระบบสัญญาณกันขโมย เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Home Automation] เป้าหมายการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

Home Automation การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

Home Automation การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่นอกเหนือจากการประหยัดพลังงานนั้น บางครั้งการใช้งานระบบ
ควบคุมการทำงานอัตโนมัติในทางปฎิบัติ อาจตั้งให้ระบบสามารถทำงานอื่นๆได้ ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อ
เซนเซอร์สามารถตรวจจับความร้อนหรือควันได้ ระบบจะสั่งงานให้ไฟแสงสว่างในบ้านกระพริบเพื่อแจ้ง
ให้ผู้อาศัยในบ้านทราบ ถ้าบ้านติดตั้งระบบที่สามารถควบคุมทีวีและเครื่องเสียงได้ ระบบจะสามารถสั่ง
ปิดการทำงานของเครื่องเสียงและทีวีเพื่อเตือนให้ผู้อาศัยทราบว่าเกิดไฟไหม้ขึ้นแล้วได้ ในบางระบบ
สามารถจัดการกับรายการของกินของใช้ในบ้าน โดยบันทึกการใช้จากป้ายที่ติดอยู่กับสิ่งของและเตรียม
รายการจัดซื้อหรือสั่งสินค้าให้โดยอัตโนมัติ

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Home Automation] มาตรฐานและระบบการต่อเชื่อมกันของอุปกรณ์

ระบบการต่อเชื่อมต่อ Home Automation

ระบบการต่อเชื่อมต่อ Home Automation

มาตรฐานการเชื่อมต่อที่ใช้กับระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติที่ใช้กันอยู่ก็คือ INSTEON, X10, KNX (standard), System Box, LonWorks, C-Bus, SCS BUS, OpenWebNet, Universal powerline bus (UPB), UPnP, ZigBee และ Z-Wave ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด บางมาตรฐานที่ใช้จะติดต่อสื่อสารกันผ่านทางสาย บางมาตรฐานจะทำการส่งสัญญาณไปในสายไฟ บางมาตรฐานจะใช้คลื่นความถี่วิทยุ และบางมาตรฐานจะใช้หลายวิธีรวมกัน การใช้สายควบคุมนั้นค่อนข้างยากที่จะติดตั้งในบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว อุปกรณ์บางตัวจะมี USB พอร์ตเพื่อใช้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในบ้าน

มาตรฐานและระบบการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์
เทคโนโลยี
ตัวกลางในการส่งสัญญาณ
ความเร็วในการส่ง
ระยะทางมากสุดที่สามารถทำงานได้
Ethernet
Unshielded twisted pair / Optical Fiber
10 Mbit/s - 1 Gbit/s
100 m – 15Km
Home Plug
Electrical wiring
14 Mbit/s - 200Mbps
200 meters
ITU-T G.hn
Electrical wiring/Telephone
up to 1 Gbit/s
N/A

เทคโนโลยี ระยะทางมากสุดที่สามารถทำงานได้
สัญญาณ การส่ง
line/coaxial cable
HomePNA
Telephone line
10 Mbit/s
300 m
Wi-Fi / IEEE 802.11
Radio frequency
11 Mbit/s - 248 Mbit/s
30 m – 100m
FireWire / IEEE 1394
Unshielded twisted pair / Optical fiber
400 Mbit/s – 3.2 Gbit/s
4.5 m – 70m
USB
Twisted pair
12 Mbit/s – 480 Mbit/s
5 m
Bluetooth
Radio frequency
1 Mbit/s – 10 Mbit/s
10 m – 100m
IRDA
Infrared
9600 bit/s –4 Mbit/s
2 m
LonWorks
Twisted pair / Electrical wiring / Radio frequency / Coaxial
1.70 kbit/s – 1.28 Mbit/s
1500 m – 2700m
INSTEON
Electrical wiring + Wireless
1.2 kbit/s
1,000m+ (Electrical wiring), 50m+ (Wireless)
X10
Electrical wiring
50 bit/s – 60 bit/s
European Installation Bus / KNX
Twisted pair / Electrical wiring / Radio frequency / Infrared / Ethernet
1200 bit/s – 9600 bit/s
300 m – 1000m
EHS
Twisted pair / Electrical wiring
2.4 kbit/s – 48 kbit/s
Batibus
Twisted pair
4800 bit/s
200 m – 1500m
Zigbee
Radio frequency
20 kbit/s – 250 kbit/s
10 m – 75m